วรรณกรรมอีสาน เรื่อง
ท้าวขูลูนางอั้ว
จัดทำโดย
นางสาวจารุณี ยันทะแย้ม
ชั้นปีที่
3 หมู่เรียนที่ 2 (รหัสนักศึกษา 57210406204)
คณะครุศาสตร์
สาขาวิชาภาษาไทย
เสนอ
อาจารย์วัชรวร วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
****************************************
คำนำ
รายงานวรรณกรรมอีสาน เรื่องเรื่อง ท้าวขูลูนางอั้ว จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการการสอน
รายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ศึกษาสามารถต่อยอดความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปได้
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ในเรื่องดังกล่าวและผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้และมีการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเข้าใจง่าย ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ศึกษาทุกท่านจะได้รับประโยชน์
และความรู้จากการศึกษารายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อยหากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
นางสาวจารุณี ยันทะแย้ม
ผู้จัดทำ
***********************************************
วรรณกรรมอีสาน
เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว
วรรณกรรมอีสาน
เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว
บทที่ 1
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมอีสาน เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว
บทที่ 1
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมอีสาน เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว
เรื่องย่อ
ท้าวขูลูเป็นโอรสเมืองกาสี และนางอัวเคี่ยมเป็นธิดาของเมืองกายนคร
พระมารดาของทั้งสองเมืองเป็นเพื่อนกัน และได้ให้คำมั่นสัญญาว่าถ้าฝ่ายใดได้ลูกชายลูกสาวก็จะยกให้แต่งงานกัน
ท้าวขูลูกับนางอั้วเคี่ยมเกิดปีเดียวกัน
เมื่อเจริญเติบโตนางอั้วเคี่ยมมีความงดงามมาก จนเล่าลือไปถึงขุนลาง
ซึ่งเป็นเจ้าเมืองขอมภูเขาก่ำ ที่เป็นชนเผ่าที่ยังไม่เจริญ
ต่อมาเมื่อท้าวขูลูเจริญวัยอยากมีคู่ครองก็ลามารดามาเมืองกายนคร
แล้วได้มีใจต่อนางอั้วเคี่ยม ท้าวขูลูประทับอยู่เมืองกายนครระยะหนึ่ง
ก็ลากลับเมือง
เพื่อส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอขุนลางหัวหน้าเผ่าชนภูเขาก็ได้ส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม
พระมารดานางอั้วเคี่ยมได้รับปาก เป็นเพราะนางไม่พอใจมารดาท้าวขูลู
ซึ่งเป็นเพื่อนกัน เมื่อครั้งตั้งครรภ์นางอั้วเคี่ยม
นางได้ไปเที่ยวอุทยานของเมืองกาสี เมื่อเห็นส้มเกลี้ยงก็อยากกิน
แต่มารดาของท้าวขูลูไม่ให้ อ้างว่าส้มเกลี้ยงไม่สุกดี
จึงทำให้นางน้อยใจและตัดความเป็นเพื่อนกัน นางอั้วเคี่ยมทราบว่ามารดารับปากการสู่ขอของขุนลาง
นางก็เสียใจและไม่ยอมรับ ฝ่ายท้าวขูลูได้บอกบิดามารดามาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม
แม่สื่อของขูลูนำสินสอดมาสูขอครั้งแรก
มารดานางอั้วเคี่ยมไม่ยอมตกลงอ้างว่าได้ตกลงกับขุนลางไว้ก่อนแล้ว
ท้าวขูลูก็ขอให้แม่สื่อมาขอนางอั้วเคี่ยมอีกครั้ง และได้พูดทวงสัญญาคำมั่นที่จะให้
บุตร – ธิดา อภิเษกสมรสกัน
แต่มารดาของนางอั้วเคี่ยมได้กล่าวถึงความโกรธเมื่อครั้งส้มเกลี้ยงจึงคืนสัญญาทั้งหมด
เมื่อจนหนทางมารดาท้าวขูลูจึงอ้อนวอนขอให้ทำพิธีเสี่ยงสายแนน (แนน
หมายถึงรกห่อหุ้มทารกแรกเกิด) ว่าเป็นเนื้อคู่กันหรือไม่ ผลการเสี่ยงทายว่า
สายแนนของทั้งสองคนนั้นเกี่ยวพันกันดีอยู่ในตอนต้น
แต่ตอนปลายยอดด้วนและแยกออกจากกัน
ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อคู่กันแต่จะอยู่กันไม่ยืดยาว ต้องพลัดพรากจากกันในที่สุด
โดยบอกว่าทั้งสองต้องตายจากกัน ฝ่ายท้าวขูลูจึงจำใจยกทัพกลับเมือง
ฝ่ายขุนลางก็ส่งคนมาทาบทามเพื่อกำหนดวันอภิเษก
เมื่อข่าวกำหนดแต่งงานถึงหูอั้วเคี่ยม ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจ
นางจึงสั่งนางทาสาไปเชิญท้าวขูลูมาพบนาง
ฝ่ายมารดานางอั้วเคี่ยมทราบว่าธิดาได้ลักลอบพบกับท้าวขูลูที่สวนอุทยาน
นางโกรธมากจึงด่าว่านางอั้วเคี่ยมว่าไปเล่นชู้ นางเสียใจมากจึงพูกคอตายที่อุทยาน
เมื่อความทราบถึงเจ้าเมืองและพระมารดาต่างก็เสียพระทัย
และนำพระศพเข้าเมืองบำเพ็ญกุศล
ส่วนขุนลางมาพบเห็นเข้าก็เสียใจเสียดายในตัวนางอั้ว
ก็พลันเกิดธรณีสูบร่าง เพราะเป็นคนใจบาปสร้างกรรมชั่วเอาไว้มาก
ฝ่ายท้าวขูลูเมื่อทราบการตายของนางอั้วเคี่ยมในระหว่างยกทัพกลับ ก็เกิดเสียใจ
จึงคว้ามีดแทงคอตัวเองตาย สุดท้ายวิญญาณของสองหนุ่มสาวได้ไปพบกันบนสวรรค์
1.
ที่มา
วรรณกรรมอีสาน เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นวรรณคดีประเภทร้อยกรอง
ซึ่งนักปราชญ์โบราณอีสานได้แต่งไว้ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่งเมื่อไร
เพียงแต่คัดลอกสืบๆ กันมา ผู้คัดลอกในสมัยโบราณนั้นก็ไม่กล้าบอกชื่อของตน
เพียงแต่จารึกลงไปว่า “ริจนาแล้วยามแลงใกล้ค่ำ
สายคำเอย เขียนบ่จบป่านได๋แล้ว แนวคนบวชใหม่ คันแม่นบ่ถืกให้เติมแต้มเอานั้นเนอ”
สำหรับต้นฉบับวรรณคดีอีสานเรื่องขูลูนางอั้ว แต่เดิมเป็นตัวธรรม มี
4 ผูก จากนั้น คุณเจือ สืบแก้ว ได้ขอให้พระท่านลอกให้
โดยการจัดทำเป็นหนังสือของวัดน้ำคำแดง ต.เตย อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
ซึ่งการคัดลอกนั้นปรากฏว่าผู้คัดลอกจะอ่านตัวธรรมไม่ค่อยได้
ข้อความบางแห่งจึงผิดพลาดไปจากความจริง จากนั้น ท่าน ดร. ปรีชา พิณทอง
จึงได้ชำระหรือปริวรรตใหม่ ซึ่งท่านได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเจือ สืบแก้ว
ที่อนุญาตให้คัดลอกและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ผู้ศึกษาจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้เลือกวิเคราะห์วรรณกรรมอีสาน
เรื่อง ขูลูนางอั้ว ฉบับของ ท่าน ดร. ปรีชา พิณทอง มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ
ผู้เรียบเรียง ดร. ปรีชา พิณทอง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศิริธรรม
ปีที่พิมพ์ 2524
บทที่ 2
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.
การวิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.1 " วรรณกรรมอีสานท้าวขูลูนางอั้ว
"
- ท้าว (น.) หมายถึง
ผู้เป็นใหญ่ , เจ้าแผ่นดิน, คำนำหน้าชื่อเจ้าเมือง, เช่นท้าวขูลู , ท้าวขุนลาง เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๕๔ : ๕๖๖ )
- ขูลู เป็นชื่อเจ้าเมืองแห่งนครกาสี
เป็นบุตรของท้าวพรมสี กับนางแก้วเทวี เช่น “ แล้วจิ่งใส่ชื่อน้อยเจ้าอ่อนกุมารโฉมสัณฐ์คือ
ดั่งอินทร์ลงแต้มชื่อวาขูลูน่อย " (ปรีชา พิณทอง , 2524 : 2)
- นาง (น.) เป็นคำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น
นางอั้ว (ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๕๔ :๖๑๙ )
- อั้ว เป็นชื่อของลูกสาวเมืองกายนคร เป็นบุตรของท้าวปุตตาลาด
กับนาจันทา เช่น “แล้วจิ่งหานามใท้กุมารีเป็นชื่ออั้วเคี่ยมน้อยงามย้อยดั่งเขียน” (ปรีชา พิณทอง , 2524 : 8)
ดังนั้น นิทานเรื่อง “ ท้าวขูลูนางอั้ว” จึงมาจากชื่อของตัวละครเอก
คือ ตัวพระ และ ตัวนางของเรื่อง ที่ปรากฏไว้ในตัวบท
ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น
เพราะผู้แต่งต้องการเน้นย้ำให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญและมองเห็นถึงลักษณะพิเศษของตัวละครเอกทั้ง
2 ตัว
2.2 แก่นเรื่อง
“จงรักให้ถูก
และรู้จักรักให้เป็น บนพื้นฐานการรักอย่างมีสติ ”
เพราะก่อนที่เราจะมอบความรักให้ผู้อื่นนั้น เราจะต้องรู้จักรักชีวิตของตัวเองเสียก่อน
3.
โครงเรื่อง
เปิดเรื่อง บรรยายถึงการเมืองการปกครอง ของเมืองกาสี
และเมืองกายนคร ซึ่งทั้งสองเมืองนี้
ได้ผูกมิตรรักใคร่กลมเกลียวกัน มเหสีของทั้งสองเมืองก็เป็นเพื่อนรักกัน
การดำเนินเรื่อง
1.
ความงามของนางอั้วได้เลื่องลือไปไกลยังเมืองต่างๆ
2.
ขูลูหลงรักนางอั้วจึงได้ตามมาที่ปราสาทของนางอั้วทั้งสองหลงรักกันและได้เสียกัน
3.
ขูลูกลับบ้านเมืองเพื่อจะให้พระมารดามาสู่ขอนางอั้ว
4.
ขุนลางเข้ามาเป็นมือที่สามระหว่างความรักของท้าวขูลูกับนางอั้ว
5.
นางจันทาบังคับให้นางอั้วแต่งงานกับขุนลาง
เพราะขุนลางส่งเครื่องราชบริพานเป็นจำนวนมาก
6. ผูกปมโดย
นางแก้วเทวีแค้นใจมากที่นางจันทาผิดคำสัญญา
จึงได้คิดศึกสงครามชิงตัวนางอั้วมาให้ขูลู ซึ่งเป็นบุตรชายของตน
7.
ท้าวขูลูกลับไปหานางอั้วอีกครั้งและท้าจะทำศึกสงครามถ้านางอั้วต้องเป็นเมียของขุนลาง
8.
นางอั้วทุกข์ใจมาก จึงตัดสินใจผูกคอตายในป่าอาถรรพ์ ใต้ต้นจวงจันทน์
9.
นางจันทาทราบข่าวว่านางอั้วตาย ก้รู้สึกผิดและเสียใจมาก
10.นางจันทาส่งสารไปยังเมืองกาสีนครเพื่อให้ขูลูมาร่วมพิธีงานศพนางอั้ว
11.หลังจากที่ท้าวขูลูทราบข่าวว่านางอั้วตายตนจึงตัดสินใจใช้พระขรรค์เชือดคอตนเองตายตามนางอั้ว
ปิดเรื่อง
ปิดเรื่องด้วยการคลี่คลายปมที่เคยทะเลาะกัน โดยทั้งสองเมืองก็กลับมารักใคร่กันเหมือนเดิม
4.
ตัวละคร บุคลิกของแต่ละตัว
1) ขูลู เป็นผู้ชายที่มีรูปร่างหน้าตาดี มีเสน่ห์
ราวกับเทพบุตรเทวดา เป็นผู้มีใจรักเดียว และซื่อสัตย์ในความรัก
ยอมตายตามคนที่รักได้อย่างกล้าหาญ ดังปรากฏในเนื้อเรื่องดังนี้
ตัวอย่าง
แต่นั้นพระจิงต้าน
จาต่อเสนา
เอาแต่เวรถองเถิง
แห่งบาลางแล้ว
แล้วจิ่งใส่ชื่อน้อย
เจ้าอ่อนกุมาร
โฉมสัณฐ์คือ
ดั่งอินทร์ลงแต้ม
ชื่อวาขูลูน่อย
เสมอตาพระบาท
พระก็ฮ่มฮักแจ่มจ้า
ถนอมตุ้มบ่วาง
2) นางอั้ว เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชอนอ้อนแอ้น
ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงาม เป็นที่หมายปองของชายต่างเมือง
มีนิสัยหยิ่งทระนง เชื่อมั่นในความรัก รักใครรักจริง
รักเดียวใจเดียว
และเป็นหญิงสาวที่มีความกล้าหาญยอมเสียสละชีวิตเพื่อให้ปัญหาทุกอย่างจบลง
ดังปรากฏในเนื้อเรื่อง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง
พระบาทท้าว หาน้อยล่ำกระบวน
เห็นฮูปน้อย งามเกิ่งนางแมน
พระก็แพงกุมารี
เกิ่งใจตนเจ้า
แล้วจิ่งหานามใท้ กุมารีเป็นชื่อ
อั้วเคี่ยมน้อย งามย้อยดั่งเขียน
3) ขุนลาง เป็นชายมีอายุ ร่ำรวยเงินทอง ช่างเอาอกเอาใจ
และหลงรักนางอั้วถึงขั้นสละทุกอย่างแทนได้
ตัวอย่าง
บัดนี้จักกล่าวเถิงขุนลางผู้ จอมภูกระสันนาฎ
มันจิ่งใช้ขาบเข้า
ถามไท้แม่นาง
เขาก็โดยพลันเข้า
เถิงโฮงพระแม่
ก้มขาบไหว้
ยอนิ้วใส่หัว
บัดนี้ขุนลางใช้
ทูลถามพระแม่
นางอ่อนอั้ว
ยังซิได้ดั่งใด
4) นางจันทา เป็นพระมารดาของนางอั้ว
มีลักษณะนิสัยเจ้าคิดเจ้าแค้น หลงระเริงในทรัพย์สิน ไม่ยอมฟังเหตุผลของลูก ดังปรากฏตัวย่างในเนื้อหา ดังนี้
ตัวอย่าง
มาเถิงไท้ มารดาตนแม่
โอมข่าน้อย เป็นแก้วมิ่งเมีย
แม่จิ่งตัดขาดเมี้ยน วางมอบฝูงเขา
เอาอวนเถิงโฮงหลวง
บ่จากามถ้อย
กูจักเอามึงให้ ขุนลางเป็นคู่กันแล้ว
มึงอย่าขัดต่างแท้
เอาให้คู่กัน
5) นางแก้วเทวี เป็นพระมารดาของท้าวขูลู มีนิสัยตระหนี่ขี้เหนียว เป็นผู้เชื่อมั่นในสัจจะสัญญา
รักษาคำพูดของตนเอง
5.
การใช้ภาษา
ภาษาถิ่นที่มักใช้เป็นภาษาถิ่น
2 ลักษณะ คือ
1)
เขียนให้มีเลียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่น 2)
ใช้คำศัพท์ที่ใช้ในท้องถิ่นหรืออยู่ในชีวิตประจำวัน มีทั้งคำนาม สรรพนาม คำกิริยา
คำวิเศษณ์ และคำเชื่อม
คำภาษาถิ่นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบว่าวรรณกรรมที่พบเป็นวรรณกรรมของถิ่นใด
ปกติภาษาถิ่นต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน 2 ระดับ คือ
ระดับหน่วยเสียงและระดับคำความแตกต่างในระดับโครงสร้างประโยคมีน้อยมาก
บทที่
3
ความโดดเด่นของเนื้อหา
6.
ความโดดเด่น
วรรณกรรมอีสานเรื่อง
ท้าวขูลูนางอั้ว เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงและโด่งดังมาก
โดยเฉพาะความโดดเด่นทางด้านเนื้อหา เพราะเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมรักที่ผิดหวัง หากดูผิวเผินอาจจะมองว่า
เรื่อง ขูลูนางอั้ว เป็นเรื่องของคนสิ้นคิด
แต่ถ้าวิเคราะห์เนื้อเรื่องอย่างละเอียดเเล้ว จะทราบว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องราวความรักที่แสนจะเจ็บปวดเกินพรรณนา
เป็นความเสียสละและความกล้าหาญของผู้หญิงคนหนึ่งที่สามารถปริดชีพตัวเองได้เพียงเพราะคำว่า
"รัก" คำเดียว และเรื่องราวทั้งหมดจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า "ขูลู นางอั้ว ตำนานรักอมตะของภาคอีสาน" ที่ถูกสืบทอดเล่าขานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
7.
ฉากและสถานที่
7.1 ฉากหลัก
- ต้นจวงจันทน์ เป็นต้นไม้สำคัญที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง
ซึ่งจะมีอยู่ 2 ต้น ต้นแรกเป็นของพระอินทร์ปลูก
นางอั้วจึงฆ่าตัวตายใต้ต้นนี้ไม่ได้ ส่วนต้นที่สองเป็นต้นไม้ที่พวกผีพลายปลูก
นางอั้วจึงขออ้อนวอนให้ต้นจวงจันทน์โน้มกิ่งลงมา จากนั้นนางจึงฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ซึ่งลักษณะของต้นจวงจันทน์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง
มีดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างต้นจวงจันทน์ที่พระอินทร์ปลูก
บ่มีพัดป่าไม้ คนิงน้อยหน่อเมือง
อันหนึ่งพระอาทิตย์ย้าย พ้นเขตเขาทอง
ดูตระการบด จวงหอมอินทร์ปลูก
นางจิ่งหักดอกไม้
เทียมพริอมคู่กัน
ตัวอย่างต้นจวงจันทน์ที่ผีพลายปลูก
นางบ่มีนานแท้ ไปเถิงเฮวฮีบ
เถิงที่ไม้ จวงดั้วยอดยาว
ที่นั้นมีพลานกว้าง
สวนเพียงเฮียงฮาบ
เคมฝั่งน้ำ วังกว้างส่องใส
นางแพงน้าว มาลาเฮวฮีบ
เทียนคู่พร้อม ยกไหว้กล่าวกลอน
- สวนอุทยาน เป็นที่พักของนางอั้วซึ่งพระบิดาของนางอั้วเป็นผู้สร้างให้ก่อนจะสิ้นใจ สวนอุทยานแห่งนี้อุดมไปด้วยความสวยงามของพืชพรรณนานาชนิด
ดังปรากฏในตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง
พระก็จำเขาสร้าง
อุทยานสวนดอก
สัพพะสิ่งไม้ ในหั้นดอกบาน
มีทังสระใหญ่กว้าง
ดวงดอกบูชา
บัวคำบาน แบ่งกอสะพังกว้าง
7.2 ฉากรอง
- เมืองกาสี เป็นบ้านเมืองของท้าวขูลูซึ่งขึ้นปกครองบ้านเมืองแทนพระบิดาที่สิ้นชีพไป
ซึ่งเมืองกาสีนั้น ถือว่าเป็นเมมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านข้าวปลาอาหารนานาชนิด
- เมืองกายนคร เป็นบ้านเมืองของอั้ว
ซึ่งนางได้อยู่กับพระมารดาตามลำพังเพราะพระบิดาได้สิ้นชีพจากไป
บทที่
4
การนำไปประยุกต์ใช้
8.
การนำไปประยุกต์ใช้
8.1
การพัฒนาต่อยอดเป็นหมอลำ
- ลำพื้น นิทานเรื่องขูลูนางอั้ว
(ตอน ขูลู)
- หมอลำเรื่อง ขูลูนางอั้ว คณะขวัญใจกาฬสินธุ์
บทที่ 2
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
บทที่
3
ความโดดเด่นของเนื้อหา
บทที่
4
การนำไปประยุกต์ใช้
- หมอลำเรื่อง ขูลูนางอั้ว
คณะระเบียบวาทะศิลป์
8.2 การสร้างบทละครเรื่อง
ขูลู-นางอั้ว โดยใช้ขนบละครพันทาง
8.3 คณะสรภัญญะ เรื่องขูลูนางอั้ว บ.โคกนิยม ต.วังชมภู อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
8.4 ละครเวทีประเพณีภาษาไทยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เรื่อง อั้วเคียม
Infographic : วรรณกรรมอีสานท้าวขูลูนางอั้ว
จัดทำโดย
นางสาวจารุณี ยันทะเเย้ม
รหัส 57210406204 ปี 3 หมู่2
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์